ศาสตร์แห่งความหอมจากธรรมชาติ

Image

AROMATHERAPY … ศาสตร์แห่งความหอมจากธรรมชาติที่

ผสมผสานกลิ่นไอบริสุทธิ์จาก ส่วนของดอก ผล กิ่ง ก้านและใบของพืชสมุนไพร

ที่มีคุณสมบัติในการเชื่อมสานภาวะความสมดุลย์ ระหว่างร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

จัดเป็นศาสตร์หนึ่งในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองตามแนวธรรมชาติบำบัด

(Holistic) ในการช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต

ผ่อนคลายความตึงเครียดปรับสมดุลย์ร่างกาย อย่างช้าๆ ตามธรรมชาติ

Image

ปัจจุบันนี้ มนุษย์หันมาสนใจดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจมากยิ่งขึ้น

และมีกระแสความนิยมในการกลับสู่ธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้น สุคนธบำบัด

หรือ Aromatherapy จึงเป็นวิธีการรักษาอีกทางเลือกหนึ่ง

ที่นำพืชหรือ สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมมาใช้ประโยชน์ในการรักษาทั้งทางด้านร่างกาย

และจิตใจการใช้วิธีนี้มีการใช้กันมานาน แล้ว อานุภาพความหอมที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น

เพื่อการดำรงอยู่อย่างมีความสุขภายใต้สุขภาพที่ดร่างกายแข็งแรง ช่วยลดสารพิษ

ในกระแสเลือดและเซลล์ผิว เสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อให้สอดคล้องกับดุลยภาพทาง

อารมณ์และจิตใจที่ได้รับการปรนนิบัติลดความตึงเครียดทางอารมณ์ ระงับอาการกระวนกระวาย

และอ่อนล้า ทางใจ เพิ่มเติมพลังแห่งชีวิต ช่วยเสริมสร้างสมาธิในการทำงาน

ช่วยให้ ร่างกายและสมองสดชื่น แจ่มใส

Image

Massage Aromatherapy สำหรับ การนวด โดยนำน้ำมันหอมระเหย

มาใช้ในการนวดวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะเป็นการใช้ น้ำมันหอมระเหย

ประกอบกับการนวดสัมผัส ทำให้น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านผิวหนังได้ดี

ปกติการนวดอย่างเดียวทำให้รู้สึกสบาย เมื่อได้ผสมผสานกับคุณสมบัติพิเศษของ

น้ำมันหอมระเหยด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การนวดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยมีสามชนิด ได้แก่
1. โดยน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่กระแสโลหิตไปทำปฏิกริยากับฮอร์โมน

เอนไซม์ ฯลฯ การออกฤทธิ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

โดยน้ำมันหอมระเหยจะซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ไปทำปฏิกิริยากับฮอร์โมน

และเอนไซม์เป็นต้น
2. ทำงานของร่างกาย เช่น ไปกระตุ้นหรือ ระงับระบบประสาททำให้มีผล

ต่อการทำงานของร่างกาย เช่นกลิ่นแคลรีเซจ (clary sage) และกลิ่นเกรพฟรุต

(grape fruit) จะทำให้สมองหลั่งสารชนิดหนึ่งเรียกว่า
Enkephalins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเจ็บปวด เป็นต้น
3. ฤทธิ์ทางด้านจิตใจโดยเมื่อสูดดมกลิ่นเข้าไปก็จะมีปฏิกริยากับกลิ่นนั้นๆ

โดยน้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลต่อจิตใจเรามานาน คือ เมื่อสูดดมกลิ่นหอม

เข้าไปก็จะมีปฏิกิริยากับกลิ่นนั้นๆ แล้วแสดงออกในรูปของอารมณ์หรือความรู้สึก

ผลของกลิ่นที่มีต่อแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

อายุ เพศบุคลิก บรรยากาศรอบๆ ตัวขณะดมกลิ่น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความสามารถ

ในการรับกลิ่นที่ไม่เท่ากันของแต่ละคน บางคนอาจได้กลิ่นชนิดหนึ่งมาก ในขณะที่บางคน

ได้กลิ่นชนิดเดียวกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้กลิ่นเลย

ฤทธิ์และวิธีใช้น้ำมันหอมระเหย
1. ทางผิวหนัง
• ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส

น้ำมันกานพลู น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
• แก้อาการอักเสบ สำหรับแผลพุพอง บาดแผลติดเชื้อ กระทบกระแทก ฟกช้ำ

ฯลฯ เช่น น้ำมันคาโมไมล์และน้ำมันลาเวนเดอร์
• ฆ่าเชื้อรา โรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันยางไม้หอม
• ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อสมานแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันเจอเรเนียม
• ระงับกลิ่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันไทม์ และน้ำมันตะไคร้
• ไล่แมลงและฆ่าปาราสิท พวก เหาหมัด เห็บ ยุง มด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระเทียม น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมัน
ยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู และน้ำมันไม้ซีดาร์

2. ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ
น้ำมันหอมระเหยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ง่ายทางผิวหนังและเยื่อบุทำให้กระจายไปทั่วร่างกาย น้ำมันที่
ทาแล้วร้อนไม่มีผลเพียงแต่การไหลเวียนของโลหิตเท่านั้น แต่มีผลต่ออวัยวะภายในด้วยความร้อนทำให้เส้น
โลหิตขยายจึงมีผลในการลดอาการบวมน้ำ
• ลดความดันโลหิต ความเครียด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว
• เพิ่มความดัน สำหรับคนที่มีโลหิตไหลเวียนไม่ดี โรคหิมะกัดเท้า เซื่องซึม ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส
• น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันลาเวนเดอร์

3. ระบบหายใจ
น้ำมันหอมระเหยเหมาะที่จะรักษา การติดเชื้อทางจมูก ลำคอ และปอด

เพราะใช้สูดดมตัวยาก็จะผ่านไปถึงปอดซึ่งก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วกว่า

ให้ยาโดยการรับประทาน
• ขับเสมหะ สำหรับหวัด ไซนัส ไอ ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมันไม้จันทน์ และน้ำมันยี่หร่า
• คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไอแห้ง ไอกรน ฯลฯ เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันมะกรูด
• ฆ่าเชื้อสำหรับ ไข้หวัดใหญ่ คอเจ็บ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส
และน้ำมันพิมเสน
• แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง
และน้ำมันกระเทียม
• ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา และน้ำมันสะระแหน่
• ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่
• ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม

4. ระบบย่อยอาหาร
น้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับระบบนี้ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รับประทาน
• แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่นน้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง
และน้ำมันกระเทียม
• ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา – ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้น
การทำงานของถุงน้ำดี เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่
• ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิงและน้ำมันกระเทียม

5. ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อ
น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อระบบนี้โดยการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตหรืออาจจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางฮอร์โมน
• แก้กล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับปวดท้องประจำเดือน ตอนใกล้คลอด ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันมะลิ
และน้ำมันลาเวนเดอร์
• ขับระดู สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนน้อยหรือไม่มี เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันสะระแหน่
• ระงับเชื้อและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันกำยาน น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันมะกรูด
• ขับน้ำนม เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันมะลิ และน้ำมันตะไคร้
• ปลุกกำหนัดสำหรับกามตายด้านหรือไม่ค่อยมีความรู้สึก เช่น น้ำมันพริกไทดำ น้ำมันกระวาน น้ำมันมะลิ
น้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา และน้ำมันไม้จันทน์
• ลดความกำหนัด เช่น น้ำมันการบูร
• ฤทธิ์ต่อไต กระเพาะปัสสาวะ และระบบปัสสาวะ ยังไม่มีรายงาน

6. ระบบภูมิคุ้มกัน
ส่วนใหญ่น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว
• ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทำให้ไม่เป็นหวัด เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันกระเพรา น้ำมันลาเวนเดอร์
น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูร และน้ำมันกานพลู
• ใช้ลดไข้ เช่น น้ำมันกระเพรา น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันมะนาว และน้ำมันยูคาลิปตัส

7. ระบบประสาท
ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าน้ำมันหลายชนิดมีผลต่อระบบประสาท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด และน้ำมัน
ลาเวนเดอร์ มีผลในการสงบระงับประสาทส่วนกลาง น้ำมันมะลิ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกระเพรา น้ำมันกานพลู
และน้ำมันกระดังงา มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท

8. จิตใจ
น้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลทางด้านจิตใจมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่การใช้ในศาสนพิธีและพิธีกรรมต่างๆ เป็นที่
ทราบกันอยู่แล้วว่ากลิ่นมีผลต่อสมองและอามณ์ผลของกลิ่นมีต่อบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย
ประการดังนี้
• วิธีที่ใช้
• ปริมาณที่ใช้
• สภาวะที่กำลังใช้อยู่
• สภาวะของบุคคลที่ใช้ (อายุ เพศ บุคคลิก)
• อารมณ์ในขณะที่จะใช้
• ความรู้สึกในอดีตเกี่ยวกับกลิ่นที่จะใช้
• ความไม่รับรู้ต่อกลิ่นบางอย่าง

ดังนั้นเราต้องจัดกลิ่นให้เหมาะกับผู้ใช้น้ำมันหอมระเหย สามารถแสดงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับ
ความต้องการของบุคคล กุหลาบ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะดอกกุหลาบเองก็หมายถึง ความงาม ความรักและ
ทางด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับนิยายและศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกนำไปใช้รักษาเกี่ยวกับผิวหนัง ควบคุม
ประจำเดือน เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดบริสุทธิ์ และบำรุงหัวใจ ดังนั้นเมื่อเราได้กลิ่นกุหลาบก็จะ
เชื่อมโยงเราไปสู่ความสัมพันธ์เหล่านี้ซึ่งจะมีผลต่อจิตใจ และตามมาด้วยผลต่อร่างกายซึ่งผลเหล่านี้ได้ถูก
ครอบคลุมอยู่ในจิตใจของเขาอยู่แล้ว

หนังสืออ้างอิง
1. วนิดา จิตต์หมั่น และ ทวีศักดิ์ สุวคนธ์ กลยุทธ์คลายเครียด
เอกสารการประชุมวิชาการเภสัชกรรม ชุมนุม ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2541.
2. ลลิตา วีระเสถียร. 2541. การบำบัดด้วยความหอม. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร. 2541; 23(1): 52-57.
3. Lawless J. The Encyclopaedia of Essential Oil. Barnes & Noble Inc, 1995: 226.
4. Peltier M. DCI. 1998; 162(3): 22-24.
5. Buckle J. Aromatherapy. Nursing time. 1993; 89(2): 32-35.
6. Anon N-Z-Pharm 1993; 13: 9-10.
7. http://www.aromaweb.com

ภาพประกอบจาก อินเทอร์เน็ท

เผยแพร่และสนับสนุนโดย 

 

Leave a comment