Trigger point คือ อะไร?



Trigger Point หรือจุดปวดในกล้ามเนื้อที่เกิดการหดเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ มีขนาดโตประมาณ 3-6 ซม.และไวต่อการกระตุ้น (Hyperirritability)
.
จุดกดเจ็บ trigger point เป็นความผิดปกติที่พบในกล้ามเนื้อ ที่มีความไวต่อแรงกด อาจจะปวดแผ่ร้าวไปที่จุดอื่นของร่างกาย หรือที่เรียกว่า referred pain เช่น กดที่ไหล่ แต่ไปรู้สึกที่ขมับ เป็นต้นค่ะ นี่คือขั้นร้ายแรงหน่อย ถ้ากดแล้วเจ็บตรงบริเวณที่กดนี่ถือว่าเป็นแบบ local ขั้นต่ำค่ะ
.
เราสามารถกดจนลดขั้นจากขั้นสูงที่มี referred pain มาเป็นขั้น local ก่อนที่จะหายไป ใจเย็นหน่อยเท่านั้นเองค่ะ เพราะอาจจะใช้เวลาหลายอาทิตย์ในการกด
.
การไหลเวียนของเลือดภายในกล้ามเนื้อเป็นปัจจัยกำหนดปริมาณออกซิเจนที่ผ่านเข้าไปในกล้ามเนื้อ เนื่องจากภายในกล้ามเนื้อมีเส้นเลือดแดงขนาดต่างๆแทรกอยู่ 
.
ทีนี้ถ้าเผื่อว่ากล้ามเนื้อหดตัวเป็นเวลานานๆจะจากการออกกำลังกาย จากชีวิตประจำวัน นิสัย ท่วงท่าที่ไม่ดี อะไรก็ตามแต่ จนเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ เกิดแรงกดดันต่อเส้นเลือดที่อยู่ภายใน จนทำให้การไหลเวียนของเลือดและปริมาณออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อลดลง พอเป็นแบบนี้เข้าก็ไปขัดขวางกระบวนการการสร้าง ATP พอปริมาณของ ATP ลดลง กระบวนการการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อและการเก็บแคลเซียมอิออนก็เกิดความบกพร่อง นี่คือต้นกำเนิด การเกิด trigger point ค่ะ
.
ATP มีหน้าที่เก็บพลังงานที่ได้จากกระบวนการสลายอาหาร พอสลายตัวก็จะให้พลังงาน เพื่อที่จะได้พลังงานในการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหว ร่างกายเราต้องสร้าง ATP ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ ขึ้นมาทดแทนพลังงานที่ใช้ไป 
.เมื่อเกิดการคั่งของแคลเซียมอิออนในปริมาณสูงการปล่อยแคลเซียมมาอย่างต่อเนื่องจากซาร์โคพลาสมิก เรติคูลัม อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการสร้างงานหรือที่เรียกว่า action potential อย่างตลอดเวลาได้เองในจุดที่เจ็บ
Action Potential คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิด Action Potential ในบริเวณถัดไป มีผลให้ Action Potential เคลื่อนที่ไปตามยาวของเส้นใยประสาทแบบจุดต่อจุดต่อเนื่องกัน เราก็เจ็บต่อไป
ภาวะการขาดเลือด หรือขาดออกซิเจนจนทำให้ค่า PH บริเวณ trigger point ลดลง ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้นอีกด้วยค่ะ 


ลักษณะของ trigger point จะเหมือนอาการอักเสบของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเป็นจุดๆไป (อาการนี้จะไม่เหมือนตะคริวที่เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อทั้งก้อน) ปมกล้ามเนื้อนี้ จะไปขัดขวางการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดบริเวณกล้ามเนื้อนั้นๆ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ (Muscular Metabolic Crisis) และส่งผลให้ปมกล้ามเนื้อพัฒนาใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 
ทีนี้เราจึงต้องรักษาจุด trigger point นี้เมื่อเราพบเจอ เพราะว่าไม่งั้นแล้วเนี่ย อาจจะทำให้เกิดการวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาด หากแพทย์ที่วินิจฉัยไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เจอในหลายๆกรณีเลยค่ะ ที่ก้อน trigger point นี้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อและเส้นเอ็น ทั้งนี้เพราะการแพทย์ส่วนใหญ่ จะมองข้ามอาการปวดกล้ามเนื้อ และไปให้ความสำคัญกับระบบกระดูก ข้อต่อ และเส้นประสาท 
.
นอกจากนี้แล้วแพทย์เฉพาะทางกล้ามเนื้อสมัยใหม่บางกรณี ก็คุ้นเคยกับการรักษาที่ใช้การฉีดยาและผ่าตัดเพื่อที่จะแก้ปัญหา โดยมองข้ามไปว่าวิธีดังกล่าวเป็นการทำลายสมดุลในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไข้โดยไม่จำเป็น
.
ข้อจำกัดของการกด trigger point ก็มีหลายอย่างเหมือนกันค่ะ คือต้องทำโดยที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูง ไม่งั้นก็อาจเห็นผลไม่ชัดเจน หรือหาตำแหน่งของ trigger point ไม่เจอ 
.
ข้อจำกัดอีกอย่างคือ เจ็บ เจ็บมากด้วยเวลากด 
.
เราใช้โฟมโรลในการหาก้อนนี้ก็ได้ ตรงที่เจ็บที่สุดที่เราสะดุดนั่นแหละ
.
วิธีการกดคือ ค่อยๆกดบริเวณกล้ามเนื้อเหนือจุดกดเจ็บ(ยังไม่ใช่จุดที่เราเจ็บ)เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆคลายตัว มีเลือดมาเลี้ยงรอบๆก่อน จะได้ลดอาการปวดและพอเริ่มคลาย ก็จะเริ่มกดไปที่จุด trigger point นั้นให้คลายตัว ให้เลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงจุด trigger point นั้นๆได้ 
.
หลังจากกดแล้ว ดื่มน้ำเยอะๆ นอนพักเนอะๆ เว้นซัก 2-3 วันเป็นอย่างน้อย ก่อนที่จะกดซ้ำสัก 3-4 ครั้ง จุด trigger point นี้ก็จะค่อยๆหายไปซึ่งการกินยา หรือ การนวด จะไม่ได้แก้ไขตรงจุดนี้
.
สำคัญที่สุด คือ เมื่อรักษาหายแล้ว จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะในการทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอน ใช้คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ 

Credit By…. www.Befitandeatwell.com

Leave a comment